มะเร็งตับระยะกลาง (Intermediate stage) รักษาได้หรือไม่ ?
รักษาได้ และการรักษาที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน คือ การให้ยาคีโมทางหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็งตับ (TACE)
คือ อายุขัยเฉลี่ยที่เราคาดหวัง สำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับระยะกลางที่ได้รับการรักษาด้วย การให้ยาคีโมทางหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็งตับ (TACE)
ปัจจุบัน การรักษามะเร็งตับ มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ส่งผลให้อายุขัยเฉลี่ยของผู้ป่วยมะเร็งตับสูงขึ้น แม้เป็นมะเร็งตับระยะกลางถึงท้าย
TACE คืออะไร ?
TACE ย่อมาจาก Trans Arterial Chemo Embolization คือการรักษามะเร็งตับโดยการให้ยาคีโมทางหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็งโดยตรง ร่วมกับการอุดหลอดเลือดนั้น เพื่อไม่ให้เลือดไปเลี้ยงก้อนมะเร็งได้อีก
มะเร็งตับบริเวณกลีบขวา
ยาคีโมจับก้อนมะเร็งตับ
ผลการรักษาที่คาดหวัง
มะเร็งตับระยะกลาง ที่ได้รับการรักษาด้วย TACE สามารถ
หายได้ หากก้อนมะเร็งตอบสนองต่อยาคีโมดี
ขนาดเล็กลง และ/หรือ จำนวนน้อยลงได้ จนอาจสามารถรักษาด้วยการ ผ่าตัด จี้ก้อน หรือเปลี่ยนถ่ายตับ เหมือนมะเร็งตับระยะต้น (Very early to eary stage) ได้
หากไม่ตอบสนอง หรือตอบสนองไม่ดีต่อยาคีโม อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted therapy)
การรักษามะเร็งตับด้วย TACE หากก้อนมะเร็งตอบสนองดี แต่ยังไม่หมดไป สามารถทำซ้ำได้ ห่างกันประมาณ 6-8 สัปดาห์
ขั้นตอนการทำ TACE มีอะไรบ้าง ?
ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียง และจะได้รับการตรวจวัดสัญญาณชีพก่อน ระหว่าง และหลังทำการตรวจรักษา เป็นระยะๆ
แพทย์ฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการสอดสายสวน เช่น ขาหนีบขวา หรือข้อมือซ้าย
ระหว่างตรวจรักษา จะมีการตรวจเอ็กซเรย์เป็นระยะๆ และอาจได้รับคำสั่งให้ หายใจเข้า/ออก หรือกลั้นหายใจ
ระหว่างให้ยาคีโม ผู้ป่วยอาจมีอาการ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน จะมีการให้ยารักษาตามอาการเมื่อจำเป็น
ระยะเวลาการตรวจรักษาประมาณ 2-3 ชั่วโมง
หลังตรวจรักษา แพทย์จะนำอุปกรณ์สายสวนออกให้ทั้งหมด และกดแผลให้เลือดหยุดประมาณ 15-30 นาที
สายสวนสำหรับตรวจรักษา มีขนาดเพียง 2.1-2.2 มิลลิเมตรเท่านั้น
(ภาพขวา) แผลบริเวณมือซ้าย หลังการให้ยาคีโมทางหลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือ (Transradial TACE) เทียบกับเหรียญ 25 สตางค์
เตรียมตัวอย่างไรก่อนเข้ารับการตรวจรักษาด้วย TACE ?
เจาะเลือดเพื่อดู การแข็งตังของเลือด เกล็ดเลือด การทำงานของตับและไต และผลเลือดติดตามเนื้องอก (AFP)
งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจรักษา ผู้ป่วยจะได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำในวันที่ทำการตรวจรักษา
งดยาต้านเกร็ดเลือด และยาละลายลิ่มเลือด
ผู้ป่วยจะได้รับการทำความสะอาดโกนขนบริเวณขาหนีบ ในกรณีที่จะใส่สายสวนทางขาหนีบ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดหลังการรักษา
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย
ไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ได้ประมาณ 1 สัปดาห์หลังทำการตรวจรักษา
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อย
เลือดออก หรือมีก้อนเลือดบริเวณที่ใส่สายสวน
ติดเชื้อ หรือเป็นฝีในตับ
ตับวาย